รัฐบาลจีน หนุน 25 ล้าน ดัน 3 โครงการวิจัยไทย พัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง

รัฐบาลจีน สนับสนุนทุน 25 ล้านบาทใน 3 โครงการวิจัยไทย ของ สวทช. “วิจัยเห็ด มันสำปะหลัง และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ระบบราง” เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตในประเทศกลุ่มลุ่มน้ำโขง

วันที่ 4 เมษายน 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (3 เม.ย.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้แถลงข่าวเปิดโครงการที่ได้รับทุนจากกองทุนพิเศษความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง (LMCSF Funded Project) โดยรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 3 โครงการของ สวทช. ประกอบด้วย 1.เรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีและเพิ่มมูลค่าเห็ดบริโภค 2.การผลิตมันสำปะหลังที่ยั่งยืน และ 3.มาตรฐานผลิตภัณฑ์ในโครงการรถไฟความเร็วสูง

เงินอุดหนุนนักเรียน 2567 ช่วยค่าชุด-หนังสือเรียน อนุบาล-ปวช. ได้เท่าไร
พนักงานถูกไล่ออก เพราะพากันหนีไฟไหม้ ที่มาบตาพุด แทงค์ เทอร์มินอล
บ้าน-รถกู้ไม่ผ่านพุ่งกระฉูด หนี้ครัวเรือนท่วม-แบงก์ผวา NPL
ให้ทุน 3 โครงการกว่า 25 ล้านบาท
ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สวทช. เปิดเผยว่า ในปี 2566 สวทช.ได้รับทุนจากกองทุนความร่วมมือพิเศษล้านช้าง-แม่โขง หรือ LMCSF จำนวน 3 โครงการ โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. จำนวน 2 โครงการ ได้แก่

โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับเห็ดบริโภคได้เพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการเกษตรที่ยั่งยืนระหว่างประเทศในภูมิภาคแม่น้ำโขง และโครงการส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลังที่ยั่งยืนโดยอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมในภูมิภาคแม่น้ำโขง โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. จำนวน 1 โครงการ ได้แก่ โครงการเพิ่มขีดความสามารถทางเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมในประเทศและการจัดเตรียมร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์ตามข้อกำหนดของโครงการรถไฟความเร็วสูง

โดยทั้ง 3 โครงการได้รับสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพิเศษล้านช้าง-แม่โขง (Lancang-Mekong Cooperation Special Fund) ประจำปี 2566 จากรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 734,092 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 25,830,423 บาท) ซึ่งกองทุนพิเศษความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขงนี้ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2560 ภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง เพื่อสนับสนุนความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อการพัฒนาแก่ประเทศลุ่มน้ำโขง 6 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ ไทย เวียดนาม และจีน

โดยจะสนับสนุนแก่โครงการขนาดกลางและขนาดเล็กที่ส่งเสริมการพัฒนาในกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขง นอกจากนี้ความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยและจีนปรากฏชัดเจนในความร่วมมือเหล่านี้ โดยไทยเป็นศูนย์กลางการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปยังประเทศลุ่มน้ำโขง ขณะเดียวกันได้รับประโยชน์จากการถ่ายทอดเทคโนโลยีและกิจกรรมความร่วมมืออื่น ๆ จากประเทศจีนเช่นกัน

มุ่งสร้างอนาคตร่วมกันระหว่างไทย-จีน
นายหม่า มิงเกิง (Mr. Ma Minggeng) ที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ลงนามข้อตกลงระดับรัฐบาลว่าด้วยความร่วมมือสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีครั้งแรกในปี ค.ศ. 1978 จนปัจจุบันเป็นเวลากว่า 40 ปีแล้ว รัฐบาลทั้ง 2 ประเทศได้ร่วมสนับสนุนโครงการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากกว่า 1,000 โครงการ

นับตั้งแต่การเปิดตัวความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง ซึ่งเป็นกลไกความร่วมมือระดับภูมิภาคครั้งแรก
โดยมีเป้าหมายในการสร้างชุมชนที่มีอนาคตร่วมกันระหว่างจีนกับประเทศในลุ่มน้ำโขง ซึ่งประเทศเหล่านี้ทั้งหมดอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญในการเร่งการพัฒนาและตระหนักถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี จำเป็นต้องมุ่งเน้นไปที่การปลูกฝังการพัฒนากำลังการผลิตใหม่ ๆ ระดับภูมิภาค

เพื่อส่งเสริมความได้เปรียบทางการแข่งขันของอุตสาหกรรม กว่า 1 ทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยให้ความสำคัญกับนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก ถือเป็นพลังขับเคลื่อนหลักของประเทศ เห็นได้ชัดเจนจากแผนพัฒนาประเทศไทย 4.0 โมเดล BCG และเป้าหมายการหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง ด้วยการพึ่งพานวัตกรรมทางเทคโนโลยี

งานวิจัยเพิ่มมูลค่าเห็ด
ด้านดร.อัมพวา ปินเรือน หัวหน้าโครงการและนักวิจัยทีมวิจัยปฏิสัมพันธ์ของจุลินทรีย์ทางการเกษตร ไบโอเทค สวทช. กล่าวว่า โครงการการถ่ายทอดเทคโนโลยีและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับเห็ดบริโภคได้เพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการเกษตรที่ยั่งยืนระหว่างประเทศในภูมิภาคแม่น้ำโขง จำนวน 258,059 ดอลลาร์สหรัฐ (9,072,323 บาท โดยประมาณ) เป็นระยะเวลา 3 ปี (2567 – 2570) มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขี้นให้แก่ประชาชนไทยและประชาชนในกลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงผ่านทรัพยากรเห็ด

รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน และส่งเสริมความร่วมมือและการมีส่วนร่วมในการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง กิจกรรมภายใต้โครงการประกอบด้วย การศึกษา พัฒนา ถ่ายทอดเทคโนโลยีและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรเห็ดป่าและคอร์ไดเซบ (กลุ่มถั่งเช่า) ที่ใช้บริโภคได้ในแต่ละพื้นที่

การค้นหาหรือพัฒนาสายพันธุ์เห็ดเศรษฐกิจชนิดใหม่ที่จะสามารถลดต้นทุนการผลิตได้เมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์นำเข้า รวมทั้งเปิดโอกาสทางการตลาด ส่งเสริมการบริหารจัดการและควบคุมกระบวนการเพาะเห็ดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยการใช้น้ำและพลังงานการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งลดหรือจัดการของเสียจากกระบวนการผลิตเห็ด… อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/general/news-1536479

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *